top of page
  • รูปภาพนักเขียนNantaphop Graphic Designe

ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดอุบลราชธานี

งานประเพณีไหลเรือไฟ หรือเฮือไฟจัดขึ้นในช่วงวันออกพรรษา บริเวณเชิงสะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี มีกิจกรรมที่น่าสนใจคือ การไหลเรือไฟของคุ้มวัดต่างๆ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลายจังหวัดในภาคอีสาน โดยเฉพาะ จังหวัดที่ตั้งอยู่ติดลำน้ำ เช่น แม่น้ำมูล–ชี แม่



ประวัติความเป็นมา งานประเพณีไหลเรือไฟ หรือ เฮือไฟ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลายจังหวัดในภาคอีสาน โดยเฉพาะ จังหวัดที่ตั้งอยู่ติดลำน้ำ เช่น แม่น้ำมูล–ชี แม่น้ำโขง เป็นต้น การไหลเรือไฟในภาคอีสานเริ่มต้นครั้งแรก เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด สันนิษฐานว่าคงมีมาก่อนที่พุทธศาสนาจะเผยแพร่มาสู่ประเทศไทย เพราะสมัยก่อนกษัตริย์ไทยยึดถือพิธีพราหมณ์อยู่ โดยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียสมัยที่นำอารยธรรม เข้ามาเผยแพร่ในแถบสุวรรณภูมิ พบว่าประเพณีงานบุญโดดเด่นที่จัดขึ้นในภาคอีสานมักผูกพันกับเรื่อง ของไฟเกือบทั้งสิ้น เช่น งานแห่เทียนเข้าพรรษา บุญบั้งไฟ พิธีไหลเรือไฟ เพราะมีความเชื่อว่า “ ไฟ ” เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์ เรียกว่า เทพอัคคี มีฐานะรองจากพระอินทร์ สามารถเผาผลาญ สิ่งชั่วร้ายและขจัดความทุกข์ยากให้ดับสลายไปได้ จังหวัดต่างๆ ที่มีการจัดประเพณีไหลเรือไฟ เช่น จังหวัดศรีษะเกษ จังหวัดเลย จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย จังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ มักจัดขึ้น คล้ายคลึงกัน แต่ก็แตกต่างกันในด้านคติ ความเชื่อ จังหวัดอุบลราชธานี มีความเชื่อว่า

- เป็นการบูชารอยพระพุทธบาท

- เป็นการบูชาพระรัตนตรัยและพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ อันได้แก่ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคนโม และพระอาริยเมตไตรย

- เป็นการบูชาคุณแม่โพสพ คือ บูชาพานข้าว

- เป็นการบูชาประทีปตามประเพณี

- เป็นการบูชาดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ


ในความเชื่อเรื่อง การบูชาบรรพบุรุษ หรือพกาพรหม ปรากฏตามนิทานชาวบ้านที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้งหนึ่งมีกาเผือกสองผัวเมียทำรังอาศัยอยู่บนต้นไม้ในป่าหิมพานต์ใกล้กับ ฝั่งแม่น้ำ วันหนึ่งกาตัวผู้บิน จากรังไปหากินเผอิญหลงทางกลับรังไม่ได้ จึงบินกระเจิดกระเจิงหายไป กาตัวเมียที่กำลังกกไข่อยู่ 5 ฟอง จึงเสียใจจนตายไป และไปเกิดใหม่ในพรหมโลก ชื่อท้าวพกาพรหม

ดู 4 ครั้ง
bottom of page